วิปัสสนาญาณ 9 ของ ญาณ

แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งในวิสุทธิ 7) ที่บรรยายคัมภีร์ในวิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น 10 ขั้น) เมื่อโพชฌงค์เจริญบริบูรณ์ครบ 7 ข้อ จิตจึงมีกำลังสามารถเห็นวิปัสสนาญาณได้ และใช้วิปัสสนาที่ปรากฏขึ้นมาเป็นเครื่องมือนำไปสู่มรรค ผล นิพพาน

  • วิปัสสนาญาณคืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นอนิจจัง
  • วิปัสสนาญาณคือภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นทุกขัง
  • วิปัสสนาญาณคือมุจจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ นั้นเห็นอนัตตา

ญาณ16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7

  • นามรูปปริทเฉทญาณ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ
  • นามรูปปัจจยปริคคหญาณ จัดเข้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ
  • สัมมสนญาณและอุทธยัพพยญาณอย่างอ่อน จัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ
  • วิปัสสนาญาณทั้ง 9 จัดเข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
  • โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ

ลักษณะ 3 อย่างในญาณ 16

  1. สภาวะลักษณะ เห็นลักษณะที่ปรากฏจากความเป็นไปของธาตุ ปรากฏตั้งแต่ยังไม่ได้ญาณถึงนามรูปปัจจยปริคหญาณ
  2. สังขตลักษณะ เห็นลักษณะคือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ปรากฏตั้งแต่สัมมสนญาณ
  3. สามัญญลักษณะ เห็นลักษณะทั้งสามหรือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตั้งแต่อุทธยัพพยญาณ